ดูหน้า
ดูหน้า
บทความ
การนอน คือ การพักผ่อนที่ดีที่สุด และถ้ายิ่งได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ร่างกายก็จะสดชื่น แจ่มใสไปตลอดทั้งวัน ส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ แต่สุขภาพของการนอนที่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องนอนระยะเวลาในการนอน ท่านอนที่ถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งถ้าเรารู้จักเลือกและปฏิบัติตามหลักการนอนที่ถูกต้อง สุขภาพ และการพักผ่อนที่เต็มพร้อมสมบูรณ์ก็อยู่ไม่ไกล ที่นอนที่ดี ต้องเหมาะกับสรีระร่างกาย นักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์ให้ความรู้ว่า คนเราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของอายุขัย เพื่อการนอนหลับพักผ่อนหรือใช้เวลาในการนอนหลับประมาณวันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งการนอนหลับอย่างเพียงพอจะส่งผลดีต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย และเพื่อให้การนอนหลับเกิดประโยชน์สูงสุด นอกเหนือไปจากการนอนให้ถูกต้องตามสุขอนามัยการนอนหลับแล้ว การเลือกที่นอนและชุดเครื่องนอนให้เหมาะกับโครงสร้างสรีระร่างกายของผู้นอน ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การนอนของคุณเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย หลักของการเลือกที่นอนนั้นก็คือ ที่นอนควรจะรองรับสรีระของผู้นอนอย่างพอดี ที่นอนจะต้องไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป โดยปกติแล้วที่นอน จะมีระดับความนุ่ม 8 ระดับด้วยกัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่ควรพิถีพิถันในการเลือกที่นอนเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่เคยประสบปัญหาเกี่ยวกับภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหอบหืด และผู้ที่เคยผ่านการผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉลี่ยการใช้งานของที่นอนจะใช้งานได้ 8-10 ปี (สำหรับที่นอนสปริง) ฉะนั้นการเปลี่ยนที่นอนใหม่ เมื่อที่นอนเดิมเสื่อมสภาพจะเพียงจะช่วยให้หลับสนิท ยังจะส่งผลคุณสดใสกับเช้าวันใหม่ทุกวันอีกด้วย ตะแคงขวา ท่านอนที่ดีที่สุด สำหรับท่านอนที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการนอนนั้น ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า ท่านอนตะแคงขวาคือ ท่านอนที่ดีที่สุด เพราะเป็นท่าที่ทำให้หัวใจเต้นได้สะดวก และช่วยให้อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดีมากขึ้น ทำให้อาหารไม่คั่งค้างในกระเพาะนานเกินไป การนอนที่ถูกต้อง ต้องโอบรับสรีระร่างกายได้ทุกส่วน รองรับแนวกระดูกสันหลังได้ดี ไม่ทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมาก เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ส่วนท่านอนที่ไม่ควรปฏิบัติ ก็คือ ท่านอนคว่ำ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุดโดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลัง ปวดต้นคอเนื่องจากต้องเงยมาข้างหลัง หรือบิดหมุนไปข้างซ้าย หรือขวานานเกินไป ซึ่งใช้หมอนรองใต้ท้องเพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยคอ เวลานอน มีผลต่อระบบร่างกายเวลาในการพักผ่อนก็ส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับพักผ่อนด้วยเช่นกัน - เริ่มที่ช่วงหัวค่ำจนถึงช่วง 3 ทุ่ม จะเป็นช่วงที่พลังงานเคลื่อนสู่กล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อทำการชะล้างหัวใจ จะลดการทำงานให้ช้าลงหลังจากนั้นจนถึง 5 ทุ่ม ร่างกายจะสะสมพลังงานเพื่อเตรียมพร้อมส่งพลังนี้ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้แต่ละส่วนนั้น ได้เริ่มต้นการทำความสะอาดตัวเอง - ตี 1 ช่วงนี้จะเป็นช่วงการล้างถุงน้ำดีให้แข็งแรง มีการย่อยสลายไขมันที่ตกค้าง หากถูกปลุกในช่วงนี้ก็อาจทำให้ไขมันที่ยังไม่ได้ย่อยไปสะสมที่ถุงไขมันใต้ตา มีพุง สมองเลอะเลือน - ตี 3 ของเช้าวันใหม่ พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ตับ ร่างกายจะกำจัดของเสียผลิตน้ำดีไปเก็บที่ถุงน้ำดี ถ้าต้องตื่นเพราะเมื่อยล้าจากการนอนจะทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลง อันเป็นที่มาของโรคความดันโลหิตแปรปรวนและโรคเบาหวาน และในช่วงนี้ถึงเช้าวันใหม่พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ปอด ถ้ามีปัญหาเรื่องปอดจะไม่สบายตัว หายใจขัด - 7 โมงเช้า พลังงานทั้งหมดจะผ่านเข้าสู่ลำไส้เพื่อเตรียมนำของเสียออกทางการถ่ายอุจจาระ ถ้าไม่ได้ถ่าย ร่างกายจะดูดของเสียเข้าสู่ระบบเลือด เป็นเหตุหนึ่งของการเกิดริ้วรอยสิวบนใบหน้า และควรออกกำลังกายช่วงนี้ เพื่อให้ลำไส้ขยับตัวและเพิ่มศักยภาพในการขับถ่ายของเสีย นอกจากเรื่องของการเลือกที่นอน ท่านอนและเวลาในการนอนแล้วนั้น เรื่องของสุขอนามัยในการนอน ทั้งความสะอาด การถ่ายเทของอากาศภายในห้อง งดดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ก่อนนอน ก็จะเป็นตัวช่วยให้การพักผ่อนนอนหลับของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ โดย ปวศร พิทักษ์
05 มกราคม 2567
ผู้ชม 1530 ครั้ง